วันอังคารที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2557

PARTY งานใน ROUTE SURVEY

การวางแนวทาง (Alignment Party)

          แนวทางทั่วไปในการวางแนวถนน ทางรถไฟ คลองชลประทาน สายไฟ จะมีทั้งแนวตรงและแนวโค้ง สำหรับสายไฟฟ้าแรงสูงจะเป็นเส้นตรงส่วนมาก
          หน้าที่ของบุคคลในการวางแนวทาง มีดังนี้
                   1.คนส่องกล้อง
                   2.ผู้ช่วยคนส่องกล้อง
                   3.ผู้จดบันทึก
                   4.คนวัดระยะ ทำ RP POT
                   5.คนเป้า
                   6.คนงานถางป่า,หลุม,ทาสี
          เครื่องมือที่ใช่ในการวางแนวทาง 

1.กล่องวัดมุม                        2.ปริซึม
3.ขาตั้งกล้อง                        4.หลักเล็ง
5.โพล                                    6.ร่ม
7.ลูกน้ำ                                  8.เทปวัดระยะ
9.ตะปู-ค้อน                           10.สีสเปรย์
11.สมุดสนาม                        12.เชือก

งานระดับตามแนวทางและหมุดระดับ (Profile & BM Party)

การถ่ายระดับ BM เป็นการหาค่าระดับของหมุดระดับ ถ่ายต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ ถ้าเป็นงานระดับชั้นที่ 1 กรมแผนที่ทหารจะเป็นผู้วางการถ่าย ค่าระดับของ TP เราเพียงแต่หาค่า Differemee ระหว่างจุดสองจุด แล้วนำไปคำนวณ การปรับแก้เสียก่อน จึงจะนำค่า BM ต่างๆ ไปใช้ระหว่างจุด 2 จุด



ก่อนอื่นต้องรู้จักกับคำเหล่านี้ก่อน

F - RUN    หมายถึง การถ่ายระดับไป

B - RUN    หมายถึง การถ่ายระดับกลับ

Diff in F - Run    หมายถึง ค่าผลต่างระดับซึ่งได้มาจากการถ่ายระดับไป

Diff in B - Run    หมายถึง ค่าผลต่างระดับซึ่งได้มาจากการถ่ายระดับกลับ

Dist    หมายถึง ระยะทาง



การปรับแก้ค่าระดับ

ในการถ่ายระดับในสนามนั้นจะต้อง ถ่ายระดับไป - กลับ จะได้ค่าความต่างระดับสองค่า ซึ่งทั้งสองค่า จะต้องอยู่ในข้อกำหนดที่ยอมให้ เสร็จแล้วจึงทำการเฉลี่ย นำไปคำนวณปรับแก้ค่าระดับ BM ต่อไป การปรับแก้ระดับสานเดี่ยว (single line) แบบวงรอบเปิด วิธีนี้เหมาะ กับการใช้งานสำรวจเส้นทางต่างๆ เช่น ท่อ สายไฟฟ้าแรงสูง คลอง ถนน ซึ่งช่างสำรวจ จะต้องปรับ แก้ค่า BM ให้ถูกก่อนจึงจะนำไปใช้ในการคำนวณ Profile หรือ Cross section หรือกำหนด grade หรือการหาจุด Toe 

วิธีนี้จะต้องรู้ค่าระดับ ของ BM แรกและ BM ที่เข้าบรรจบ จึงจะทำการแก้ได้ ซึ่งปกติ BM ที่มีค่าคงที่นี้ใน ประเทศไทยจะเป็นของกรมแผนที่ทหาร



งานระดับตามขวางแนวทาง (Cross Section Party)



การทำ Cross-section คือ การหาระดับดินเดิม existing groan ไปในแนว ตั้งฉากกับเส้นฐานกับแนวสำรวจ หรือ ตั้งฉากกับแนว Center line ของการทำ profile ค่าระดับดินเดิมที่ได้นำลงมาเขียนในกระดาษเขียนแบบ จุดประสงค์ คือค่าของงานดิน ให้ได้ความจริงมากที่สุด การเก็บค่าระดับดินเดิมบางจุดบน station ที่มีผลทำให้ระดับดินเดิม ซึ่งนำ มาคำนวณแล้ว ได้ค่าที่ผิด จากความเป็นจริงมาก ให้หลีกเลียงการหาระดับจากจุดที่ใกล้เคียง ซึ่งเมือนำไป  คำนวณ จะได้ค่าที่ใกล้เคียงกว่ามากกว่า

วิธีการทำ Cross-section งานสนาม
หมุดที่ใช้ทำระดับ คือ BM TBM บน Center line ของงาน profile การทำงานจะต้องสร้างแนวCenter lineตรงที่กำหนด ในกรณี ที่ต้องเพิ่มหมุดเสริมเป้าไปอีก เช่น บริเวรที่มีพื้นที่แตกต่างกันมาก

จุดที่ต้องทำ Cross-section
1.ทุกจุด station ของงาน Profile
2.ทุกจุดที่มีท่อ
3.ทุกจุดที่มีทางน้ำ
4.คอสะพานและทุกจุดของทางแยก

ขอบเขตของการเก็บ Cross-section
การเก็บระดับทำกันตามแนวกว้างยาวว่า เช่นต้องการถนนกว้าง 10 เมตรและในกรณีการทำการขุดลอกแหล่งน้ำ คลองส่งน้ำ ต้องเก็บระดับตลิ่ง คลองข้างละไม่น้อยกว่า 10 เมตร

ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
กำหนดจุด Center line จุดละ 25 เมตร กำหนดด้าน RT และ LT เพื่อใช้ตั้ง staff เมื่อต้องการย้ายกล้องให้ส่อง TP ทุกครั้ง



4. งานสำรวจภูมิประเทศ  ( TOPOGRAPHIC  SURVEY )


งานสำรวจภูมิประเทศ ( TOPOGRAPHIC  SURVEY ) คือ การแสดงภาพสิ่งต่างๆ ที่ปรากฏบนพื้นผิวของโลก ลงบนระนาบสองมิติ ด้วยขนาดย่อส่วนหรือมาตราส่วน   (scale)  ที่เหมาะสมโดยแทนสิ่งต่างๆด้วยลักษณะ ทั้งชนิดเส้น ( linetypes ) และเครื่องหมาย (symbols)  ต่างๆ โดยอ้างอิงกับระบบพิกัดที่ใช้ในการรังวัด รายละเอียดทางตำแหน่ง   ได้แก่   ถนน   อาคาร   เสาไฟฟ้า  ต้นไม้  สิ่งปลูกสร้างต่างๆ เป็นต้นเหล่านี้เรียกว่า  “ รายละเอียดทางราบ” (horizontal  details) รวมทั้งการแสดงความสูงต่ำของพื้นที่ด้วยเส้นชั้นความสูง (contour line) และจุดระดับความสูง (spot height)เรียกว่า รายละเอียดทางดิ่ง” (vertical details)แผนที่เป็นสิ่งสำคัญ    สำหรับงานโครงการทางสถาปัตยกรรมที่ใช้การออกแบบภูมิทัศน์    และโครงการทาง วิศวกรรมเพื่อใช้ในการออกแบบก่อสร้างทางด้านสาธารณูปโภคต่างๆ   เช่น   ออกแบบทางคลองชลประทาน การบริหารจัดการทางด้านทรัพยากรน้ำ  และสิ่งแวดล้อม   เป็นต้น   แผนที่ภูมิประเทศจึงเป็นผลผลิตที่ต้องมี ความเข้าใจการดำเนินการ เพื่อให้ได้ความถูกต้องที่เหมาะสมกับการใช้งานและมีค่าใช้จ่ายไม่สูงเกินไป


ขั้นตอนการรังวัดแผนที่ภูมิประเทศ
เมื่อมีความต้องการแผนที่ภูมิประเทศพื้นที่หนึ่งนั้น    สิ่งที่ต้องพิจารณาคือ ความต้องการในการใช้งาน ได้แก่ มาตราส่วนแผนที่  ช่วงเส้นชั้นความสูง  ประเภทรายละเอียดต่างๆ ที่ต้องจัดเก็บ โดยสามารถแสดงราย ละเอียดนั้น ปรากฏบนแผนที่ที่มาตราส่วนตามต้องการ  จากความต้องการเหล่านี้ จึงนำมาพิจารณาถึงขั้นตอน กรรมวิธี มาตรฐานการรังวัดแต่ละขั้นตอน รวมทั้งการกำหนดชนิดเครื่องมือสำรวจที่ใช้

ขั้นตอนการดำเนินงานรังวัดแผนที่ภูมิประเทศประกอบด้วยขั้นตอนหลักๆ ดังนี้
1)  การสำรวจสังเขป  ( reconnaissance)
2)  การสำรวจรังวัดหมุดควบคุม (control  survey)
3)  การสำรวจรังวัดเก็บรายละเอียด (details  survey)
4)  การเขียนแผนที่ภูมิประเทศ ( plotting )
5)  การตรวจสอบความถูกต้องข้อมูลแผนที่ภูมิประเทศ ( field  check )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น